การขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม
กรณีชราภาพ
ติดต่อด้วยตนเอง ณ หน่วยงาน
สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-12 / สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาทั่วประเทศ
หมายเหตุ : ที่อยู่/โทรศัพท์ สามารถค้นหาได้ทางเว็บไซต์ www.sso.go.th
ระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (e-Service)
ระบบการเบิกจ่ายประโยชน์ทดแทนด้วยตนเองของผู้ประกันตนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-self service) กองทุนประกันสังคม ผ่านเว็บไซต์ www.sso.go.th
35 นาที
ไม่มีค่าธรรมเนียม
เงื่อนไขการเกิดสิทธิ เงินบำเหน็จชราภาพ - กรณีจ่ายเงินสมทบ ไม่ครบ 180 เดือน - อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง *** กรณีเป็นผู้ทุพพลภาพหรือตายก่อนอายุ 55 ปีบริบูรณ์ จะได้รับเป็นเงินบำเหน็จชราภาพ เงินบำนาญชราภาพ - จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน (15 ปี) - อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง ประโยชน์ทดแทนที่ได้รับ เงินบำเหน็จชราภาพ - กรณีจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน ได้รับเท่ากับจำนวนเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตน - จ่ายตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป ได้รับเท่ากับจำนวนเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตน+นายจ้าง+ผลประโยชน์ตอบแทน เงินบำนาญชราภาพ - กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน ได้รับเงินบำนาญชราภาพในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง - กรณีจ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราเงินบำนาญชราภาพขึ้นอีกร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน ***เงินบำนาญชราภาพที่ได้รับไม่ต่ำกว่า 720 บาทต่อเดือน ทายาทผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ กรณีผู้ประกันตนมีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพเสียชีวิต ได้แก่ 1) บุตรชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นให้ได้รับสองส่วน ถ้าผู้ประกันตนที่ตายมีบุตรตั้งแต่สามคนขึ้นไปให้ได้รับสามส่วน 2) สามีหรือภริยาให้ได้รับหนึ่งส่วนและ 3) บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดาที่มีชีวิตอยู่ให้ได้รับหนึ่งส่วน 4) บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุไว้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ ให้ได้รับหนึ่งส่วน ในกรณีที่ไม่มีทายาทในลำดับใด หรือทายาทนั้นได้ตายไปเสียก่อน ให้แบ่งเงินบำเหน็จชราภาพในระหว่างทายาทผู้มีสิทธิ ในลำดับที่มีทายาทผู้มีสิทธิได้รับ ในกรณีที่ไม่มีทายาททั้ง 4 ลำดับข้างต้น ให้ทายาทดังต่อไปนี้ มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพตามลำดับ หากบุคคลลำดับใดมีจำนวนมากกว่าหนึ่งคนให้บุคคลลำดับนั้นได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน (1) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน (2) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดา (3) ปู่ ย่า ตา ยาย (4) ลุง ป้า น้า อา วิธีการและเงื่อนไขในการยื่นคำขอฯ 1. ผู้ประกันตน/ผู้มีสิทธิ ต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนให้ถูกต้อง ครบถ้วน พร้อมตรวจสอบ และอ่านข้อความให้ครบถ้วนก่อนลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน พร้อมวัน เดือน ปี ที่ยื่นคำขอฯ 2. เอกสารประกอบการยื่นคำขอฯ ที่เป็นสำเนาต้องรับรองความถูกต้องของสำเนาทุกฉบับ 3. กรณีเอกสารหลักฐานและข้อเท็จจริง ครบถ้วน ถูกต้อง เจ้าหน้าที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลากำหนดและมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ประกันตน/ผู้มีสิทธิทราบ 4. กรณีเจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถวินิจฉัยเรื่องได้ เจ้าหน้าที่จะมีหนังสือแจ้งให้ทราบว่าเหตุใดจึงยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ 5. การรับเงินบำเหน็จชราภาพ 3 วิธี ดังนี้ 1) กรณีรับเงินสด /เช็ค (ผู้ประกันตน /ผู้มีสิทธิ ขอรับด้วยตนเองให้นำบัตรประจำตัวประชาชนไปแสดงหรือกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทนต้องทำเป็นหนังสือและนำบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจไปแสดงด้วย) 2) กรณีรับเงินทางธนาณัติให้ระบุชื่อที่ทำการไปรษณีย์ที่ต้องการจะติดต่อรับเงินให้ชัดเจน 3) กรณีรับเงินผ่านทางธนาคาร และผ่านบริการพร้อมเพย์ที่ลงทะเบียนด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชน กรณีขอรับเงินผ่านทางธนาคาร ผู้ยื่นคำขอฯ ต้องแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน /ผู้มีสิทธิเท่านั้น สำหรับกรณีขอรับเงินผ่านบริการพร้อมเพย์ ผู้ยื่นคำขอไม่ต้องยื่นสำเนาหน้าบัญชีธนาคาร ประกอบการยื่นคำขอฯ 6. กรณีรับเงินผ่านทางธนาณัติ สำนักงานฯ จะส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน /ผู้มีสิทธิ ภายใน 3 วันทำการนับถัดจากวันที่อนุมัติจ่ายเงิน 7. กรณีรับเงินผ่านทางธนาคาร สำนักงานฯ จะโอนเงินเข้าบัญชีของผู้ประกันตน /ผู้มีสิทธิ ภายใน 5 วันทำการ นับจากวันที่อนุมัติจ่ายเงิน 8. การรับเงินบำนาญชราภาพ สำนักงานประกันสังคมจ่ายประโยชน์ทดแทนผ่านทางธนาคารและผ่านบริการพร้อมเพย์ที่ลงทะเบียนด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชนเท่านั้น โดยการขอรับเงินผ่านทางธนาคารคิดค่าธรรมเนียมในการโอนเงินจากผู้รับเงินบำนาญชราภาพตามอัตราที่ธนาคารกำหนด (รายการละ 5 บาท) กรณีขอรับเงินผ่านบริการพร้อมเพย์ไม่มีค่าธรรมเนียมการโอนเงิน (กรณียอดเงินเกิน 10,000 บาทต่อครั้ง ธนาคารคิดค่าธรรมเนียมรายการละ 2 บาท) การยื่นเรื่องขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีดังกล่าว ผู้ยื่นคำขอฯ ต้องนำสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอฯ และหนังสือยินยอมให้หักเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารประกอบการยื่นคำขอฯ ด้วย ทั้งนี้ การโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของผู้ประกันตนขึ้นอยู่กับรอบการตัดจ่ายและเงื่อนไขการได้รับประโยชน์ทดแทน หมายเหตุ : 1. กรณีคำขอฯ หรือรายการเอกสารประกอบการพิจารณาไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน หรือไม่อาจแก้ไข/เพิ่มเติมได้ในขณะนั้น ผู้รับคำขอฯ และผู้ยื่นคำขอฯ จะต้องลงนามในแบบรับเรื่องและตรวจสอบเอกสารการขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม ที่เจ้าหน้าที่แจ้งให้ทราบร่วมกัน พร้อมกำหนดระยะเวลาให้ผู้ยื่นคำขอฯ ดำเนินการแก้ไข/เพิ่มเติม หากผู้ยื่นคำขอฯ ไม่ดำเนินการแก้ไข/เพิ่มเติมได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้รับคำขอฯ จะดำเนินการคืนคำขอฯ และเอกสารประกอบการพิจารณา 2. ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอฯ ไม่ได้มายื่นด้วยตนเอง ณ สำนักงานประกันสังคม เช่น ทางไปรษณีย์ ฝากผู้อื่นส่ง เมื่อตรวจสอบแล้ว พบว่า เอกสารไม่ครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในคู่มือประชาชน สำนักงานประกันสังคมจะแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอฯ หรือผู้แทนส่งเอกสารให้สำนักงานประกันสังคมภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง 3. พนักงานเจ้าหน้าที่จะยังไม่พิจารณาคำขอฯ และยังไม่นับระยะเวลาดำเนินงาน จนกว่าผู้ยื่นคำขอฯ จะดำเนินการแก้ไขคำขอฯ หรือยื่นเอกสารเพิ่มเติมครบถ้วนตามแบบรับเรื่องและตรวจสอบเอกสารการขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม นั้นเรียบร้อยแล้ว 4. ขั้นตอนการดำเนินงานตามคู่มือจะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในคู่มือประชาชนเรียบร้อยแล้ว
1. พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
ไม่มีรายการใบอนุญาต
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.)
- 99 หมู่ 4 อาคารซอฟต์แวร์ปาร์ค ชั้น 2 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลคลองเกลือ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
- สายด่วน 1206 / โทรศัพท์ 0 2502 6670-80 ต่อ 1900 , 1904- 7 / โทรสาร 0 2502 6132