... ... ...

การขอรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์ (N)

ช่องทางการให้บริการ

ติดต่อด้วยตนเอง ณ หน่วยงาน

1.

กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ตึก 8 ชั้นกรมวิชาการเกษตร เลขที่ 50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม 10900 (ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน) โทรศัพท์: 02-579-7520 โทรสาร: 02-579-7520 Email: organic.doa.thailand@gmail.com

2.

สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 โทรศัพท์: 053-114121-6 โทรสาร: 053-114127 Email: gapoard1@gmail.com

3.

สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 โทรศัพท์: 055-313127 โทรสาร: 055-313131 Email: gap_cc@hotmail.com

4.

สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 โทรศัพท์: 043-465130 โทรสาร: 043-465130 Email: gapoard3@hotmail.com

5.

สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 โทรศัพท์: 045-210422 โทรสาร: 045-210423 Email: gap-sorworpor4@hotmail.com

6.

สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 โทรศัพท์: 056-405070-101 โทรสาร: 056-405289 Email: gapchainat@yahoo.com

7.

สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 โทรศัพท์: 039-397076 ,039-397134 โทรสาร: 039-434578 Email: gapoard6@gmail.com

8.

สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 โทรศัพท์: 077-259445-6 โทรสาร: 077-259447 Email: gap_oard7@hotmail.com

9.

สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 โทรศัพท์: 074-445905-6 โทรสาร: 074-445907 Email: organic60oard8@gmail.com

ไม่พบช่องทางการให้บริการออนไลน์

42 วันทำการ

1.
แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์ (สำหรับแปลงเดียว/รายเดียว) F-51.1 (ฉบับจริง 1 ฉบับ)
ประเภทการใช้เอกสาร: กรณีขอหนังสือรับรองฯ ภายใต้เงื่อนไขและความตกลงนั้นๆ
ตัวอย่างเอกสาร: ดาวน์โหลด
2.
แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์ (สำหรับกลุ่ม) F-53 (ฉบับจริง 1 ฉบับ)
รายละเอียดเอกสาร: ใช้ดำเนินการขอรับการรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์ สำหรับกลุ่ม
ประเภทการใช้เอกสาร: กรณีขอหนังสือรับรองฯ ภายใต้เงื่อนไขและความตกลงนั้นๆ
ตัวอย่างเอกสาร: ดาวน์โหลด

ไม่มีค่าธรรมเนียม

เงื่อนไขในการยื่นคำขอ เกษตรกร นิติบุคคลหรือกลุ่มเกษตรกรที่มีความพร้อมในการปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์ยื่นคำขอต่อเจ้าหน้าที่กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช (กมพ.) เจ้าหน้าที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร (สวพ.) หรือเจ้าหน้าที่หน่วยงานเครือข่ายของสวพ. เงื่อนไขของการรับรอง กรมวิชาการเกษตร ดำเนินการให้การรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์ ตามขอบข่ายที่กรมวิชาการเกษตรประกาศ ผู้ยื่นคำขอต้องมีการนำระบบการผลิตพืชอินทรีย์ไปปฏิบัติก่อนการตรวจประเมินเพื่อการรับรองรวมทั้งมีการดำเนินกิจกรรมในทุกข้อกำหนดตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (มกษ.) หรือมาตรฐานอื่นๆ ที่เทียบเท่า การขอรับการรับรอง ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าหน้าที่กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช หรือเจ้าหน้าที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 - 8 หรือเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรต่างๆของจังหวัด พร้อมหลักฐานและเอกสารที่เป็นปัจจุบัน ตามรายการในแบบคำขอรับการรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์ เงื่อนไขสำหรับผู้ได้รับการรับรอง 1) ต้องรักษาไว้ซึ่งระบบการผลิตพืชอินทรีย์ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (มกษ.) หรือมาตรฐานอื่นๆ ที่เทียบเท่า ตลอดระยะเวลาที่ได้รับการรับรอง 2) อ้างถึงการรับรองเฉพาะในกิจการและขอบข่ายที่ได้รับการรับรองเท่านั้น 3) ต้องไม่นำใบรับรอง และ/หรือเครื่องหมายรับรอง และ/หรือเครื่องหมายรับรองระบบงานไปใช้ทำให้เกิดความเข้าใจผิดต่อการรับรอง หรือทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อกรมวิชาการเกษตร 4) เมื่อมีการลดขอบข่าย พักใช้ เพิกถอน หรือยกเลิกการรับรองระบบไม่ว่าด้วยสาเหตุใด ให้ยุติการใช้สิ่งพิมพ์ สื่อ โฆษณาที่มีการอ้างถึงการได้รับการรับรองนั้นทั้งหมด 5) หากมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขระบบการผลิตพืชอินทรีย์ในสาระสำคัญ เช่น การเปลี่ยนแปลงชนิดพืชที่ปลูก เพิ่ม/ลดขนาดพื้นที่ปลูก เปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ เปลี่ยนกรรมวิธีการแปรรูปและการจัดการผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์เป็นวิธีใหม่ การปรับปรุงสถานที่ประกอบการ เปลี่ยนแปลงสมาชิกในกลุ่ม เปลี่ยนแปลงระบบควบคุมภายในกลุ่ม เปลี่ยนผู้ดูแลหรือผู้ดำเนินการ เปลี่ยนแปลงพื้นที่ หรือสถานที่ผลิต การโอนกิจการ การย้ายสถานที่ผลิตหรือสถานที่ประกอบการ การเปลี่ยนเครื่องมือเครื่องจักร หรือกรณีมีการใช้สารช่วยกรรมวิธีการผลิตและแปรรูป หรือมีการใช้สารที่ใช้ในการทำความสะอาด (Cleaning Agent) ปัจจัยการผลิตที่ใช้ในการปรับปรุงบำรุงดินและควบคุมศัตรูพืชที่ไม่ได้มาจากการผลิตอินทรีย์ให้แจ้งหน่วยรับรอง 6) ให้ความร่วมมือแก่กรมวิชาการเกษตร ในการตรวจประเมินทุกครั้ง โดยผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ หรือกลุ่ม จะต้องยินยอมให้ผู้ตรวจประเมินเข้าตรวจสอบพื้นที่ดำเนินการและส่วนที่เกี่ยวข้องกับการขอรับรองทั้งหมด (ทั้งพื้นที่ของตนเอง เช่า ให้เช่า) และยินยอมให้มีการสุ่มตัวอย่าง ผลผลิต หรือผลิตภัณฑ์หรือปัจจัยการผลิตไปทดสอบ 7) ต้องจัดทำบันทึกอย่างต่อเนื่อง เช่น บันทึกการผลิต บัญชีการซื้อปัจจัยการผลิตและวัตถุดิบอินทรีย์ บัญชีแสดงจำนวนผลผลิต ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ และบัญชีแสดงการจำหน่ายผลิตผล ผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์ รวมทั้งจำนวนฉลากที่มีการแสดงเครื่องหมายการรับรอง พร้อมหลักฐานการรับผลิตผล ผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์ หรือหลักฐานการชำระเงินจากลูกค้าแต่ละราย แสดงข้อมูลดังกล่าวต่อคณะผู้ตรวจประเมิน เมื่อได้รับการร้องขอเพื่อให้ผู้ตรวจประเมินสามารถตรวจสอบกระบวนการผลิตพืชอินทรีย์ได้ทุกขั้นตอน 8) ต้องส่งมอบเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับรองที่เป็นปัจจุบันให้แก่กรมวิชาการเกษตร เมื่อได้รับการร้องขอ 9) ต้องเรียกเก็บผลิตผล ผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์ คืนจากสถานที่จำหน่าย และจัดส่งรายงานการเรียกเก็บผลิตผล ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ กรณีที่ถูกเพิกถอนการรับรอง ยกเลิกการรับรอง ได้รับข้อร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตผล ผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์ เมื่อคณะกรรมการรับรองมีมติให้เรียกเก็บผลิตผล ผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์คืนจากสถานที่จำหน่าย 10) หากประสงค์จะยกเลิกการรับรองให้แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้กรมวิชาการเกษตรทราบ 11) หากประสงค์จะขอต่ออายุใบรับรอง ให้ยื่นแบบคำขอใบรับรองการผลิตพืชอินทรีย์ต่อกรมวิชาการเกษตร ก่อนใบรับรองหมดอายุ 12) ต้องจัดให้มีมาตรการและจัดหาอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลส่วนบุคคลที่จำเป็นแก่เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร และคณะผู้เข้าร่วมในการตรวจประเมินทุกครั้งในกรณีที่ร้องขอ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติหน้าที่ 13) ต้องจัดทำและเก็บบันทึกข้อร้องเรียนและผลการดำเนินการกับข้อร้องเรียนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับกิจการและขอบข่ายที่ได้รับการรับรองไว้ และต้องมอบบันทึกข้อร้องเรียนและผลการดำเนินการให้แก่กรมวิชาการเกษตร เมื่อได้รับการร้องขอ หมายเหตุ เงื่อนไข : ไม่พบข้อบกพร่อง ภายใต้ภาวการณ์ตรวจ 2 แปลงต่อ 1 วัน พืชอายุสั้นใช้เวลา 42 วันทำการ พืชไม้ผล/พืชผสมผสาน/พืชอุตสาหกรรม/มะละกอ อาจใช้เวลา มากกว่า 42 วันทำการ หากมีข้อบกพร่อง ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนในข้อ 4.1 (ในตาราง) กรณีเป็นการตรวจรับรองแบบกลุ่มให้ขึ้นอยู่กับกระบวนการของกลุ่ม และข้อบกพร่องของกลุ่ม

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

1. พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551

1.
การตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสาร
รายละเอียด: รับคำขอและตรวจสอบคำขอ - ผู้ยื่นคำขอใบรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์ หลักฐานสำเนาประกอบ (หากมี) ต้องรับรองสำเนาเอกสารทุกฉบับ กรณีเอกสารครบ เกษตรกรให้ข้อมูลรายละเอียดได้ (หมายเหตุ : กรณีได้รับเอกสารและรายละเอียดจากเกษตรกรครบถ้วน)
ระยะเวลา: 1 วันทำการ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: กรมวิชาการเกษตร
2.
-
รายละเอียด: คัดเลือกคณะผู้ตรวจประเมิน - คัดเลือกคณะผู้ตรวจวางแผนการตรวจนัดหมายเกษตรกร
ระยะเวลา: 1 วันทำการ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: กรมวิชาการเกษตร
3.
การตรวจสอบ
ขั้นตอนย่อย: ตรวจสอบมาตรฐานสินค้า/อื่นๆ
รายละเอียด: วางแผนการตรวจประเมิน/เตรียมการตรวจประเมิน - นัดวันเริ่มเข้าตรวจนับจากวันที่ยื่นขอขึ้นกับความพร้อมของเกษตรกรชนิดพืชที่ขอรับรองแผนการผลิตถ้าเกษตรกรพร้อมให้เข้าตรวจ - พิจารณากำหนดวันตามรอบการผลิตของแต่ละพืช และความพร้อมของเกษตรกร - ในขั้นตอนนี้จะรวมระยะเวลาของการนัดหมายเกษตรกร (หมายเหตุ : 1. ติดต่อประสานงานกับเกษตรกรและนัดหมายได้สำเร็จ 2. เกษตรกรมีความพร้อมให้ผู้ตรวจประเมินเข้าตรวจประเมินได้ครบทุกข้อกำหนด)
ระยะเวลา: 3 วันทำการ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: กรมวิชาการเกษตร
4.
การตรวจสอบ
ขั้นตอนย่อย: ตรวจสอบสถานที่
รายละเอียด: ดำเนินการตรวจประเมินแปลง - ระยะเวลาเข้าตรวจแปลง ผู้ตรวจประเมินจะใช้ระยะเวลาตรวจในภาวะการณ์ปกติ 2 แปลง/ 1 วันทำการ - ในกรณีที่การตรวจประเมินไม่สามารถตรวจครบทุกข้อกำหนด จะดำเนินการตรวจประเมินมากกว่า 1 วันทำการ หรือมากกว่า 1 ครั้ง (หมายเหตุ : ผลการตรวจประเมินผ่านทุกข้อกำหนด)
ระยะเวลา: 1 วันทำการ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: กรมวิชาการเกษตร
5.
การตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสาร
รายละเอียด: จัดทำรายงานการตรวจประเมิน (หมายเหตุ : กรณีไม่ใช้ผลวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการประกอบการพิจารณาการรับรอง)
ระยะเวลา: 10 วันทำการ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: กรมวิชาการเกษตร
6.
การพิจารณาโดยคณะกรรมการ
ขั้นตอนย่อย: การพิจารณาโดยคณะกรรมการ
รายละเอียด: นัดหมายและดำเนินการประชุมคณะกรรมการรับรองเพื่อพิจารณา - รวบรวมตรวจสอบจาก ศวพ.เครือข่าย 5 วัน - นัดหมายเเละเชิญคณะกรรมการรับรองฯ ประชุม 2 วัน - การประชุมใช้เวลา 2 วัน - จัดทำรายงานการประชุมและแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ 6 วัน
ระยะเวลา: 15 วันทำการ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: กรมวิชาการเกษตร
7.
การลงนาม/คณะกรรมการมีมติ
รายละเอียด: จัดทำใบรับรองและทะเบียนรายชื่อผู้ได้รับการรับรอง - ทวนสอบความถูกต้องของมติที่ประชุมในการให้การรับรอง - จัดทำใบรับรอง และตรวจสอบความถูกต้องของรายละเอียดในใบรับรอง - เสนอผู้มีอำนาจลงนามใบรับรอง - จัดเตรียมเอกสารและจัดส่งใบรับรอง
ระยะเวลา: 11 วันทำการ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: กรมวิชาการเกษตร

ไม่มีรายการใบอนุญาต

1.
ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี
เลขที่ 1 ถ.พิษณุโลก เขตดุสิต กทม. 10300 / สายด่วน 1111 / www.1111.go.th / ตู้ ปณ.1111 เลขที่ 1 ถ.พิษณุโลก เขตดุสิต กทม. 10300
2.
ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนการทุจริตในภาครัฐ

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.)

- 99 หมู่ 4 อาคารซอฟต์แวร์ปาร์ค ชั้น 2 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลคลองเกลือ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120

- สายด่วน 1206 / โทรศัพท์ 0 2502 6670-80 ต่อ 1900 , 1904- 7 / โทรสาร 0 2502 6132

- www.pacc.go.th

3.
กลุ่มพัฒนาระบบตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตพืช กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช
ตึก 8 ชั้น กรมวิชาการเกษตร เลขที่ 50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม. 10900 ตั้งอยู่ภายใน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน โทรศัพท์ : 0 2579 7520 โทรสาร : 0 2579 7520 ระยะเวลาเปิดให้บริการ วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ หมายเหตุ: (ยกเว้นวันหยุดที่ทางราชการกำหนด ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.30 น. (มีพักเที่ยง เวลา 12.00 - 13.00 น.))
4.
ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
เลขที่ 1 ถ.พิษณุโลก เขตดุสิต กทม. 10300 -สายด่วน 1111 -www.1111.go.th -ตู้ ปณ.1111 เลขที่ 1 ถ.พิษณุโลก เขตดุสิต กทม. 10300
5.
ศูนย์รับเรื่องราวร้องเรียนการทุจริตในภาครัฐ
สำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) -99 หมู่4 อาคารซอฟต์แวร์ปาร์ค ชั้น2 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลคลองเกลือ อำเภอปากเกล็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 -สายด่วน 1206 / โทรศัพท์ 0 2502 6670-80 ต่อ 1900 , 1904-7 / โทรสาร 0 0502 6875 -www.pacc.go.th / www.facebook.com/PACC.GO.TH -จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ mail@pacc.go.th ศูนย์รับเรื่องราวร้องเรียนจากนักลงทุนต่างชาติ(The Anti-Corruption center) Tel : +66 92 668 0777 /Line : Fad.pacc / Facebook : The Anti-Corruption Operation Center / Email : Fad.pacc@gmail.com