... ... ...

การพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินสงเคราะห์ผู้ประสบภัย (N)

ช่องทางการให้บริการ

ติดต่อด้วยตนเอง ณ หน่วยงาน

1.

สำนักงานเขตทุกเขตในกรุงเทพมหานคร /ที่ว่าการอำเภอทุกแห่งทั่วประเทศซึ่งเป็นท้องที่ที่เกิดเหตุ

2.

สำนักงานคลังจังหวัดทั่วประเทศ https://www.cgd.go.th/cs/internet/internet/Contact_us.html?page_locale=th_TH

หมายเหตุ : เฉพาะการให้คำปรึกษา

3.

กองบริหารการเบิกจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง บำเหน็จบำนาญ กรมบัญชีกลาง /ติดต่อด้วยตนเอง ณ หน่วยงาน โทรศัพท์ : 0 2127 7000 ต่อ 4204, 4212, 4214, 6401 โทรสาร : 0 2127 7154

หมายเหตุ : เฉพาะการให้คำปรึกษา

แอปพลิเคชันบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (Application)

สำนักงานเขตทุกเขตในกรุงเทพมหานคร /ที่ว่าการอำเภอทุกแห่งทั่วประเทศซึ่งเป็นท้องที่ที่เกิดเหตุ

45 วัน

1.
แบบคำขอรับเงินสงเคราะห์
รายละเอียดเอกสาร: ติดต่อขอรับได้ที่สำนักงานเขตทุกเขต ที่ทำการอำเภอทั่วประเทศ สำนักงานคลังจังหวัดทั่วประเทศ และที่กรมบัญชีกลาง หรือดาวน์โหลดได้ที่ https://www.cgd.go.th/cs/internet/internet/newsalaryinter.html
2.
หลักฐาน หรือคำสั่งในการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือ การปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม
3.
รายงานการสอบสวนข้อเท็จจริง
4.
คำสั่งศาลหรือคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุด
5.
การสอบสวนพยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์ และหลักฐานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
6.
ใบรับรองแพทย์ที่ทางราชการรับรอง ซึ่งตรวจและให้ความเห็นว่าผู้นั้นสูญเสีย อวัยวะหรือสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บจนไม่สามารถใช้กำลังกายหรือความคิดประกอบอาชีพได้ตามปกติ หรือพิการทุพพลภาพขนาดหนัก
7.
บัตรประจำตัวประชาชน
8.
สำเนาทะเบียนบ้าน (ทร.14)
9.
หลักฐานเกี่ยวกับการตาย 1. มรณบัตร 2. คำสั่งศาล สำหรับผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ
10.
หลักฐานเกี่ยวกับบิดามารดาของผู้ประสบภัยที่ถึงแก่ความตาย ได้แก่ 1. ทะเบียนบ้านของบิดามารดา 2. มรณบัตร กรณีไม่มีมรณบัตรให้ใช้หนังสือ รับรองการตายของบุคคลที่ควรเชื่อถือได้ (เช่น พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง) 3. หลักฐานการเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายได้แก่ (1) ทะเบียนสมรส หรือใบสำคัญการสมรสของบิดา มารดา หรือทะเบียนฐานะของภรรยา (มารดาของผู้ตาย) หรือ (2) หนังสือรับรองของบุคคลผู้ควรเชื่อถือได้ ที่รับรองว่า บิดามารดาสมรสก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2478
11.
หลักฐานเกี่ยวกับคู่สมรสของผู้ประสบภัยที่ถึงแก่ความตาย ได้แก่ 1. ทะเบียนสมรส หรือใบสำคัญการสมรส 2. ทะเบียนบ้าน 3. มรณบัตร กรณีไม่มีมรณบัตรให้ใช้หนังสือรับรองการตายของบุคคลที่ควรเชื่อถือได้ 4. ทะเบียนการหย่า หรือใบสำคัญการหย่า หรือคำสั่งศาลกรณีที่มีการหย่า
12.
หลักฐานเกี่ยวกับบุตรของผู้ประสบภัยที่ถึงแก่ความตาย ได้แก่ 1. ทะเบียนบ้าน 2. ทะเบียนสมรส หรือใบสำคัญการสมรสของผู้ตายกับมารดาของบุตร หรือทะเบียนการรับรองบุตร หรือคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตร 3. บันทึกรับรองการมีบุตรชอบด้วยกฎหมายในครรภ์มารดา 4. มรณบัตร กรณีไม่มีมรณบัตรให้ใช้หนังสือ รับรองการตายของผู้ที่ควรเชื่อถือได้ 5. ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม กรณีที่มีบุตรบุญธรรม
13.
หลักฐานแสดงการเป็นผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือผู้พิทักษ์ หรือผู้อนุบาล แล้วแต่กรณี ซึ่งลงชื่อให้ความยินยอมในการขอรับ หรือขอรับเงินสงเคราะห์แทนผู้มีสิทธิได้แก่ 1. ทะเบียนการรับรองบุตร 2. ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมหรือ 3. คำสั่งศาลตั้งผู้ปกครองผู้พิทักษ์หรือผู้อนุบาลแล้วแต่กรณี
14.
หลักฐานที่เกี่ยวข้องอื่น ตามที่กองบริหารการเบิกจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง บำเหน็จบำนาญ กรมบัญชีกลาง หรือคณะกรรมการสงเคราะห์ผู้ประสบภัย เห็นสมควรขอ เพื่อประกอบการพิจารณาพฤติการณ์การได้รับอันตราย การเจ็บป่วย การเกิดเหตุ และกรณีอื่นใด

ไม่มีค่าธรรมเนียม

ประชาชนผู้ใดปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี หรือช่วยเหลืองานของทางราชการจนตนเองต้องประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือถูกประทุษร้าย ทางราชการมีพระราชบัญญัติสงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2543 กำหนดให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ได้รับอันตรายกรณีสูญเสียอวัยวะเป็นเงินชดเชยและหากเข้ารับการรักษาพยาบาลตามคำสั่งของแพทย์ จะมีสิทธิได้รับเงินชดเชยในระหว่างที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในอัตราต่อวัน กรณีพิการทุพพลภาพขนาดหนักนอกจากจะได้รับเงินชดเชยดังกล่าวแล้วยังมีสิทธิได้รับเงินดำรงชีพเป็นรายเดือน รวมถึงมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล และหากถึงแก่ความตายทายาท (บิดามารดา คู่สมรส และบุตร)*มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลก่อนตาย เงินชดเชย และเงินช่วยเหลือค่าจัดการศพด้วย ทั้งนี้ อันตรายที่ได้รับต้องไม่เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือความผิดของตนเอง โดยการขอรับเงินสงเคราะห์ต้องกระทำภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่ผู้มีสิทธิได้ทราบถึงสิทธิของตน (รายละเอียดตามเอกสารแนบ) ก่อนที่จะยื่นเรื่องขออนุมัติจ่ายเงินสงเคราะห์ผู้ประสบภัยเพื่อให้กรมบัญชีกลางพิจารณา ต้องดำเนินตามขั้นตอนให้ครบถ้วนแล้วจึงส่งเรื่องให้กรมบัญชีกลาง 1 ผู้ประสบภัย / ทายาท ยื่นแบบคำขอรับ 2 ผู้อำนวยการเขต หรือนายอำเภอ 2.1 สอบสวนข้อเท็จจริง 2.2 ช่วยเหลือในการให้ได้มาซึ่งหลักฐานประกอบคำร้อง 2.3 เสนอคำขอรับพร้อมหลักฐานไปยัง 2.3.1 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือ 2.3.2 ผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วแต่กรณี 3 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัด 3.1 พิจารณาคำขอรับเงินสงเคราะห์และหลักฐานต่าง ๆ หากถูกต้องให้ส่งฝ่ายเลขานุการกรมบัญชีกลาง กรณีไม่ถูกต้อง ให้ดำเนินการตาม ข้อ 3.2 3.2 สอบสวนข้อเท็จจริงหรือขอหลักฐานเอกสารเพิ่มเติม 3.3 กรณีตามข้อ 3.2 เมื่อได้รับเรื่องแล้วให้ส่งคำขอรับพร้อมหลักฐานไปยังฝ่ายเลขานุการกรมบัญชีกลาง หมายเหตุ ตัวอย่างแบบฟอร์มสามาถดาวน์โหลดได้จาก Link เอกสารเงินสงเคราะห์ https://www.cgd.go.th/cs/internet/internet/newsalaryinter.html หมายเหตุ ** ขั้นตอนการดำเนินงานตามคู่มือจะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในคู่มือประชาชนเรียบร้อยแล้ว

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

1. กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและอัตราในการจ่ายเงินสงเคราะห์และกำหนดลักษณะของความพิการทุพพลภาพขนาดหนักจนเป็นอุปสรรคสำคัญยิ่งในการประกอบอาชีพหรือในการดำรงชีพ พ.ศ. 2544

2. กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและอัตราในการจ่ายเงินสงเคราะห์และกำหนดลักษณะของความพิการทุพพลภาพขนาดหนักจนเป็นอุปสรรคสำคัญยิ่งในการประกอบอาชีพหรือในการดำรงชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560

3. พระราชบัญญัติสงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2543

4. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการขอรับเงิน การพิจารณา และการขยายระยะเวลาในการขอรับเงินสงเคราะห์เนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2543

5. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติหรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2544

6. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินช่วยเหลือค่าจัดการศพผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2544

7. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินช่วยเหลือค่าจัดการศพผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560

1.
การตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสาร
รายละเอียด: เจ้าหน้าที่กองบริหารการเบิกจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง บำเหน็จบำนาญ กรมบัญชีกลาง - ได้รับคำขอรับเงินสงเคราะห์พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานและ - ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน
ระยะเวลา: 1 วัน
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: กรมบัญชีกลาง
2.
-
รายละเอียด: สรุปความเห็นและนำความเห็นเสนอคณะอนุกรรมการสงเคราะห์ผู้ประสบภัยเพื่อพิจารณากลั่นกรองเบื้องต้น
ระยะเวลา: 22 วัน
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: กรมบัญชีกลาง
3.
การลงนาม/คณะกรรมการมีมติ
รายละเอียด: คณะอนุกรรมการสงเคราะห์ผู้ประสบภัยพิจารณากลั่นกรองเบื้องต้น และส่งให้คณะกรรมการสงเคราะห์ผู้ประสบภัยพิจารณา/แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้เกี่ยวข้อง
ระยะเวลา: 22 วัน
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: กรมบัญชีกลาง

ไม่มีรายการใบอนุญาต

1.
ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี
เลขที่ 1 ถ.พิษณุโลก เขตดุสิต กทม. 10300 / สายด่วน 1111 / www.1111.go.th / ตู้ ปณ.1111 เลขที่ 1 ถ.พิษณุโลก เขตดุสิต กทม. 10300
2.
ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนการทุจริตในภาครัฐ

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.)

- 99 หมู่ 4 อาคารซอฟต์แวร์ปาร์ค ชั้น 2 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลคลองเกลือ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120

- สายด่วน 1206 / โทรศัพท์ 0 2502 6670-80 ต่อ 1900 , 1904- 7 / โทรสาร 0 2502 6132

- www.pacc.go.th